กัญชาทำลายสมองไหม?

Last updated: 15 พ.ค. 2562  | 

 

ความขัดแย้งและสงสัย ในประเด็น กัญชากับผลกระทบของสมอง เป็นหนึ่งในประเด็น ที่ทำให้กัญชา ยังถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ร้าย

ก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้น ผมอยากให้แยก สมองของเด็กหรือวัยรุ่น และ สมองของผู้ใหญ่และคนแก่ ไว้คนละกลุ่มก่อน

และต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริงที่ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ ทำลายเนื้อสมองอย่างชัดเจน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ (แต่ถูกกฎหมาย)

ผมขอพูดในประเด็นที่โฟกัสการใช้กัญชาอย่างเหมาะสมทางการแพทย์ เป็นหลักนะครับ ไม่นับการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม เพราะ ถ้าแบบนั้น ยาพาราเซตามอล ที่ควรกินเพียง 1 เม็ด ที่เอาไปกินทีละ 10 เม็ด ซึ่งไม่เหมาะสม ก็ทำให้ตายได้ ต้องชัดเจนตรงนี้ก่อน

ข้อมูลที่เราทราบมาว่า กัญชาทำให้ การพัฒนาของสมองของวัยรุ่นและเด็ก เสื่อม ไอคิวต่ำ และทำให้สมองของคนแก่เสื่อมได้ไว

นั่นคือ ข้อมูลที่เราได้รับมาตลอด เพราะกัญชาทำให้เมา เราจึงเข้าใจว่า มันต้องทำลายสมองแน่นอน

แต่จากการวิจัยและเริ่มทบทวนและทำการศึกษาวิจัยใหม่เพิ่มเติม เราเริ่มพบว่า

กัญชากับการทำลายสมองนั้น มีความเกี่ยวข้องกันน้อยมาก หรือ ไม่ได้เชื่อมโยงกัน

อย่างเช่นการศึกษา Neuroimaging meta-analysis of cannabis use studies reveals convergent functional alterations in brain regions supporting cognitive control and reward processing ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Psychopharmacology · January 2018

ที่เมื่อนำสมองของคนที่ใช้กัญชามาสแกนตรวจดู เพื่อดูความสัมพันธิ์ของกัญชากับการทำลายสมอง ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ก็ไม่ได้พบความสัมพันธิ์นั้น

หรืองานวิจัย Impact of adolescent marijuana use on intelligence: Results from two longitudinal twin studies
ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2016 ก็ไม่พบความสัมพันธิ์โดยตรงที่ว่า กัญชาทำให้ไอคิวของเด็กลดลง

หรืองานวิจัย Structural neuroimaging correlates of alcohol and cannabis use in adolescents and adults. ตีพิมพ์ในวารสาร Addiction. 2017 Dec

ก็ยืนยันว่า แอลกอฮอร์ทำลายสมองชัดเจน แต่สำหรับกัญชาไม่พบความสัมพันธิ์ดังกล่าว ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

หรืองานวิจัย Association of Cannabis With Cognitive Functioning in Adolescents and Young Adults
A Systematic Review and Meta-analysis ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Psychiatry. 2018

ก็พบความสัมพันธ์น้อยมาก ที่กัญชาจะเป็นสาเหตุการทำลายสมอง

หรืองานวิจัย Cannabis use in youth is associated with limited alterations in brain structure ตีพิมพ์ในวารสาร Neuropsychopharmacology ปี ค.ศ. 2019

ก็ไม่พบว่า กัญชาทำให้โครงสร้างของสมองเปลี่ยนไปในวัยรุ่น

หรืองานวิจัย Preliminary results from a pilot study examining brain structure in older adult cannabis users and nonusers ตีพิมพ์ในวารสาร Psychiatry Research: Neuroimaging เดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา

ก็ไม่พบว่า กัญชาทำให้โครงสร้างสมองในผู้ใหญ่หรือคนสูงอายุเปลี่ยนไป

และการศึกษาที่ใหญ่ที่ชื่อว่า ABCD study ที่ศึกษาสมองของวัยรุ่น ผลการศึกษาจะออกมาในปีหน้า หรือ คศ.2020

ถึงแม้จะยังต้องรอข้อมูลยืนยันเพิ่มเติม แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ ในกรณีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ประเด็นของกัญชากับการทำลายสมอง

จึงไม่ใช่ประเด็นที่ต้องว่า ให้น้ำหนักถึงขนาดมากังวลว่า จะไม่ใช้เพราะทำลายสมอง เพราะข้อมูลปัจจุบัน ก็จะออกไปในเชิง ไม่ทำลาย

และในผู้สูงอายุ นอกจากจะมีประโยชน์ในโรคสมองต่างๆแล้ว ยังอาจค้นพบว่า กัญชาอาจกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองใหม่ๆได้ นั่นเอง

กัญชา กับ การทำลายสมอง อาจเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ประเด็นหลักที่ต้องมาตัดสินว่า จะใช้กัญชาเพื่อการแพทย์หรือไม่

ส่วนการใช้กัญชาแบบทั่วๆไป ที่ไม่ใช่การแพทย์แบบโรคอันตรายสุดๆที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เช่น ใช้เพื่อผ่อนคลาย ใช้เพื่อคลายเครียด หรือ ใช้เพื่อการนอนหลับ เมื่อใช้ระยะยาว จะทำให้สมองเสื่อมไหม ข้อมูลก็ยังไม่ชัดเจน แต่มักจะออกไปทางดีมากกว่าผลเสีย

ปล. อย่านำข้อมูลกัญชาสังเคราะห์ทางเคมี มาปนกับข้อมูล กัญชาแบบสกัดจากต้นกัญชา เพราะข้อมูลจะสับสนได้ กัญชาสังเคราะห์ทางเคมี พบว่า มีอาการข้างเคียงสูงมาก

 

ที่มา : น้ํามันกัญชาสกัด.com


 

ไม่พลาดทุกข่าวสารสำคัญ เพียงแค่กดเป็นเพื่อน LINE @CANNHEALTH