Last updated: 7 ส.ค. 2562 |
วันที่ 8 กรกฎาคม 2562 -16:25 น.
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : อภินันท์ อุ่นทินกร: /Apinan Untinkorn
จากการนำประโยชน์ทางเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ผ่านทางแอปพลิเคชันมือถือเพื่อช่วยในงานวิจัย คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก (The University of New Mexico) พบว่ากัญชาทางการแพทย์ช่วยบรรเทาอาการในผู้ป่วยได้ทันที อีกทั้งยังมีผลข้างเคียงเชิงลบที่ค่อนข้างน้อย
ไม่นานมานี้งานศึกษาวิจัย 2 ชิ้น ในชื่อเรื่อง “ผู้ป่วยที่ได้รับรายงานการบรรเทาในอาการจากการบริโภคกัญชาทางการแพทย์ (Patient-Reported Symptom Relief Following Medical Cannabis Consumption)” กับเรื่อง "ประสิทธิผลของดอกกัญชาสดทางการแพทย์เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับภายใต้สภาวะที่เป็นจริง (Effectiveness of Raw, Natural Medical Cannabis Flower for Treating Insomnia under Naturalistic Conditions)” ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Frontiers และPharmacology and Medicines ตามลำดับ ศาสตราจารย์ Jacob Miguel Vigil แห่งภาควิชาจิตวิทยา (Department of Psychology) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ Sarah See Stith ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ (Department of Economics) แห่งมหาลัยนิวเม็กซิโก (UNM) ได้ร่วมยืนยันด้วยเอกสารว่ากลุ่มผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและทางคลินิก เมื่อพวกเขาได้ใช้กัญชาเพื่อรักษาอาการต่างๆ ตั้งแต่ภาวะปวดเรื้อรังไปจนถึงอาการนอนไม่หลับ
Dr. Sarah Stith Prof Jacob Miguel Vigil
การศึกษาเหล่านี้วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือในชื่อ Releaf App ที่พัฒนาร่วมกันโดย Franco Brockelman, Keenan Keeling and Branden Hall และในปัจจุบันถือเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของผู้ใช้งานที่ป้อนข้อมูลเกี่ยวกับการปริมาณการบริโภคและผลกระทบของการใช้กัญชาในสหรัฐอเมริกาด้วยเซสชันผู้ใช้ที่บันทึกไว้เกือบ 100,000 ครั้ง
Releaf App เป็นแอปพลิเคชันในเชิงพาณิชย์ที่พัฒนาขึ้น โดยเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์การศึกษาที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อผู้ป่วยที่ไม่มีแรงจูงใจและได้รับการออกแบบมาสำหรับการบันทึกเซสซันในการใช้กัญชาแต่ละครั้ง ซึ่งจะดูการสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในระดับความรุนแรงของอาการและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น
เครื่องมือการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบและจัดการกับการตัดสินใจบริโภคกัญชาภายใต้ภาวะที่เกิดขึ้นจริงขณะที่หลีกเลี่ยงข้อจำกัดต่างๆ ของวิธีการเก็บแบบสำรวจย้อนหลัง (เช่น อคติความจำ, ผลกระทบของการตอบเพื่อทำให้ดูดีทางสังคม) อีกทั้งทำให้เป็นเครื่องมือวิจัยที่ดีและเหมาะสำหรับวัดการใช้กัญชาในโลกแห่งความเป็นจริง
การศึกษาวิจัยครั้งแรกในภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน 27 อาการ ที่มีตั้งแต่อาการชักจนถึงอาการซึมเศร้า กลุ่มผู้ใช้กัญชารายงานการลดอาการลงโดยเฉลี่ยเกือบ 4 คะแนนในระดับ 1-10 หลังจากบริโภคกัญชาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่ระดับเข้มข้นไปจนระดับที่เบาลง
การศึกษาวิจัยครั้งที่สอง มุ่งเน้นไปที่การใช้ดอกกัญชาสดจากธรรมชาติ (buds) ในการรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยระดับประสิทธิภาพที่คล้ายกันซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของดอกและวิธีการเผาไหม้ การตรวจสอบทั้งสองงานศึกษาวิจัยได้รับการสนับสนุนโดยกองทุนวิจัยกัญชาทางการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการวิจัยตามประเภทของชีวการแพทย์กัญชา ซึ่งในอดีตนั้นเป็นการยากที่จะระดมทุนผ่านหน่วยงานของรัฐทั่วไป เช่น สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (The National Institutes of Health: NIH)
ยาตามใบสั่งแพทย์ส่วนใหญ่จะมีผลข้างเคียงและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่รุนแรงและถึงขั้นเสียชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งทำให้มีทางเลือกในการใช้ยารูปแบบอื่นเพื่อแข่งขันกับความต้องการของผู้ป่วยและความต้องการของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ ซึ่งกัญชาทางการแพทย์กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วด้วยการขยายตัวอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยที่สำคัญ
การศึกษาวิจัยเชิงสังเกต (observational studies) มีความเหมาะสมมากกว่าการออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) เพื่อวัดว่าผู้ป่วยเลือกที่จะบริโภคกัญชาและผลที่ได้รับจากทางเลือกเหล่านั้นอย่างไร
ศาสตราจารย์ Vigil กล่าวว่า “ด้วยการรวบรวมข้อมูลจำนวนมากของผู้ป่วยที่ป้อนเข้ามาเกี่ยวกับกัญชาที่ใช้จริงภายใต้สถานการณ์ในชีวิตจริง เราสามารถวัดได้ว่าเพราะเหตุใดผู้ป่วยจึงบริโภคกัญชา, ประเภทของผลิตภัณฑ์กัญชาที่ผู้ป่วยใช้ และผลที่ได้รับทันทีและในระยะยาวของการใช้กัญชาดังกล่าว อีกนัยหนึ่งคำถามการวิจัยที่สำคัญและเป็นประโยชน์มากมายที่การทดลองควบคุมแบบสุ่มไม่สามารถตอบได้”
พืชกัญชาได้รับการตรวจสอบหาความจริงว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีศักยภาพสำหรับโรคประจำตัวหลายโรค ตั้งแต่ภาวะป่วยทางใจจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD) ไปจนถึงโรคมะเร็งโดยได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง โรคลมชักและกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Spasticity) การศึกษาวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าศักยภาพในการรักษาของกัญชากว้างเพียงใดและเป็นงานวิจัยแรกที่วัดว่าลักษณะของกัญชาที่บริโภคโดยผู้คนหลายล้านคนในสหรัฐอเมริกาทุกวันมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่แตกต่างกันทั้งในระดับความรุนแรง ประสบการณ์ผลข้างเคียงทั้งทางบวกและทางลบ
หนึ่งในรูปแบบที่โดดเด่นที่สุดในผลลัพธ์ปัจจุบัน คืออาการในแนวกว้างที่ปรากฏขึ้นเพื่อปรับปรุงการบริโภคกัญชา จากรายงานบ่งบอกว่าผู้ใช้กัญชามากกว่า 94% ลดความรุนแรงของอาการ หลังจากการใช้กัญชาที่จัดการด้วยตนเองในทุกภาวะสุขภาพ ที่วัดด้วยแอปพลิเคชัน Releaf สิ่งนี้อาจสะท้อนความสามารถขอ phytocannabinoids ในพืชที่มีอิทธิพลต่อระบบ endocannabinoid ในร่างกายของมนุษย์ซึ่งควบคุมทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจและระบบพฤติกรรม
ตามทฤษฎีการขาดเอนโดแคนนาบินอยด์ (endocannabinoid deficiency theory) พบว่าการรบกวนทางสุขภาพจิตและร่างกายหลายอย่างเกิดจากความผิดปกติของระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS) ของร่างกายซึ่งมักจะอธิบายว่าเป็นเครือข่ายต้นแบบของสัญญาณเคมีที่ส่งเสริมสภาวะสมดุลทางร่างกายและจิตใจ
ECS ประกอบไปด้วยไอออนธรรมชาติ (เช่น anandamide และ 2-AG) และตัวรับ (CB1 และ CB2) ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมประสิทธิภาพของระบบร่างกายขั้นพื้นฐานรวมถึงการนอนหลับ การให้อาหาร (เช่น การซึมผ่านของลำไส้และการสร้างเซลล์ไขมัน) ความรู้สึกทางเพศและภาวะเจริญพันธุ์, การรับรู้ความเจ็บปวด, แรงจูงใจ,ความสุข, ความวิตกกังวล, การเรียนรู้และความจำ, การดำเนินชีวิตทางสังคม, การตอบสนองภูมิต้านทาน, เซลลูลาร์เรดอกซ์ และพยาธิสรีรวิทยาของมะเร็ง
ศาสตราจารย์ Vigil กล่าวว่า “หรืออีกนัยหนึ่งซึ่งแตกต่างจากวิธีการทางเภสัชกรรมสมัยใหม่ทั่วไป ที่มุ่งไปที่การออกฤทธิ์ในส่วนของบริเวณที่มีสารสื่อประสาท กัญชาอาจทำหน้าที่ในการปรับปรุงอาการในวงกว้างโดยควบคุมการทำงานของภาวะธำรงดุล (Homeostasis) หรือการรักษาสมดุลของร่างกาย บางทีอาจอธิบายได้ดีที่สุดว่าเป็นรูปแบบการบำบัดทั้งระบบมากกว่าการบำบัดตามอาการ” เขากล่าวต่ออีกว่า “ศักยภาพทางการแพทย์ของแนวคิดและวิธีการรักษาแบบประยุกต์ที่ใช้ในการรักษากลุ่มอาการจะดูหลากหลายกว่า ซึ่งต่างจากการรักษาแบบใช้ยาตัวเดียวที่มีอยู่"
นอกเหนือจากประโยชน์ในด้านการรักษาแล้ว การศึกษาวิจัยเหล่านี้ยังแสดงให้เห็นว่าการใช้กัญชามีความสัมพันธ์กับผลข้างเคียงที่พบบ่อยและมีมาก แต่โดยทั่วไปแล้วไม่รุนแรง จากผู้ใช้งาน Releaf App พบว่าผลข้างเคียงเชิงบวกและเชิงบริบทนั้นมีการรายงานโดยทั่วไปมากกว่าผลข้างเคียงเชิงลบ ด้วยผลข้างเคียงที่รายงานบ่อยว่าเป็นบวก (ผ่อนคลาย, สงบ, สุขสบาย) ) และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นน้อยที่สุดจะเป็นลบ (หวาดระแวง,สับสน,ปวดศีรษะ)
ในที่สุดกัญชาน่าจะถูกจัดอยู่ให้ในกลุ่มรายการยาที่ทันสมัย เพื่อเป็นตัวเลือกในการใช้ยาหากกัญชาสามารถรักษาอาการทางสุขภาพของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าและปลอดภัยยิ่งกว่าการรักษาด้วยยาสมัยใหม่ทั่วไป เช่นเดียวกับในกรณีของอาการนอนไม่หลับ, ยานอนหลับตามใบสั่งแพทย์เช่น กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) ตัวอย่างเช่น ยาทราโซโดน (trazodone), ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) และยาด็อกเซปิน (doxepin), กลุ่มยานอนหลับและยาคลายเครียด (benzodiazepines) ตัวอย่างเช่น ยาไดอะซีแพม (diazepam) และยาลอราซีแพม (lorazepam), กลุ่มยา GABA ตัวอย่างเช่น ยาโซลพิเดม (zolpidem) ทำให้นอนหลับ ลดการตื่นตัวของสมอง และยาเอสโซพิโคลน (eszopiclone), และยาต้านอาการทางจิต (anti-psychotics) ตัวอย่างเช่น ยาอะริพิพราโซล (aripiprazole), ยาโอแลนซาปีน (olanzapine), ยาควิไทอะปีน (quetiapine) และ ยาริสเพอริโดน (risperidone) มีความเกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องทางคลินิกที่สำคัญและความเสี่ยงที่มากขึ้นของภาวะเจ็บป่วยที่เป็นโรค
การใช้กัญชาเป็นที่ปรากฏอย่างแพร่หลาย เป็นตัวช่วยในการนอนหลับและเพื่อการรักษาอาการทางสุขภาพอื่น ๆ ที่มีมากมาย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยทางการแพทย์ต่อไปเกี่ยวกับประวัติความเสี่ยง คุณประโยชน์ของกัญชา และประสิทธิผลของกัญชาเพื่อทดแทนสารอื่นๆ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, การซื้อขายกันโดยตรง (โดยไม่มีใบสั่งซื้อยาจากแพทย์) และยาตามใบสั่งแพทย์ (เช่นยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ - opioids และยาระงับประสาท- sedatives ที่ทำให้ง่วงนอนและผ่อนคลาย)
จากคำยืนยันของผู้ช่วยศาสตราจารย์ Stith กล่าวว่า “ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการรักษาด้วยกัญชาควรได้รับการพิจารณาเนื่องด้วยภาระที่ต้องแบกรับในปัจจุบันของกลุ่มยาแก้ปวดโอปิออยด์ (opioid) และใบสั่งยาที่มีความเสี่ยงสูงอื่นๆ ในระบบการดูแลสุขภาพซึ่งถูกบังคับให้ต้องปรับเปลี่ยนค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลผู้ป่วยทั่วไปรวมไปถึงโปรแกรมตรวจสอบใบสั่งยา,
การคัดกรองยาเสพติดและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยบ่อยขึ้น
นอกจากนี้หากประวัติความเสี่ยงและประโยชน์ระยะสั้นของกัญชาที่พบในการศึกษาวิจัยของเราได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการรักษาในระยะยาว การทดแทนกัญชาเพื่อเป็นยาแผนโบราณ (traditional pharmaceuticals) สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดปฏิกิริยากับยาอันตราย และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาหลายชนิดโดยการอนุญาตให้ผู้ป่วยรักษากลุ่มอาการของโรคด้วยวิธีการรักษาเดียว”
รองศาสตราจารย์ Vigil กล่าวทิ้งท้ายว่า “หากผลลัพธ์ที่ได้ในการศึกษาวิจัยของเราสามารถประมาณค่าถึงประชากรทั่วไป กัญชาก็สามารถแทนที่อุตสาหกรรมยาด้วยมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ทั่วโลกได้อย่างเป็นระบบเช่นเดียวกัน”
ที่มา: Medical Press- Sep.11, 2018
https://medicalxpress.com/news/2018-09-medical-cannabis-effective-wide-range.html
By: University of New Mexico