Last updated: 7 ส.ค. 2562 |
วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 -10:40 น.
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : อภินันท์ อุ่นทินกร: /Apinan Untinkorn Dr. Mark Ware ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทางการแพทย์ (Chief Medical Officer -CMO) ของ Canopy Growth ได้นำเสนอภาพรวมของการวิจัยที่มีอยู่เกี่ยวกับกัญชาที่ใช้บำบัดโรคและอธิบายว่าเหตุใดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางการรักษาจึงจำเป็นต้องศึกษาในด้านนี้เพิ่มเติ่ม
อุตสาหกรรมกัญชาที่ใช้ในการบำบัดโรคกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักร มีบริษัทใหม่จำนวนมากที่จัดตั้งขึ้นเข้าสู่ตลาดเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดหายาสูตรผสมใหม่ (จากกัญชา) ที่ต่างจากยาเดิมที่มีอยู่ให้แก่กลุ่มผู้ป่วย อย่างไรก็ตามแม้จะมีกฎระเบียบออกมาเพื่ออนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2018 มีผู้ป่วยเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้ไม่แบบส่วนตัวก็แบบใช้บริการของระบบการดูแลสุขภาพแห่งชาติ (NHS) มีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่ได้รับการสนับสนุนให้เข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ เช่นในกรณีของ Billy Caldwell และ Alfie Dingley ซึ่ง ณ ปัจจุบันเด็กชายทั้งคู่เป็นหนึ่งในสี่คนที่ได้รับอนุญาตได้ใบสั่งยาในสหราชอาณาจักร
ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ทำให้ใบสั่งยากัญชามีไม่เพียงพอจนถึงปัจจุบัน คือการขาดการสนับสนุนด้านการศึกษาเพิ่มเติมให้กับแพทย์ผู้ทำการรักษา อีกประการหนึ่งคือการมีหลักฐานทางคลินิกไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนประสิทธิภาพของการเตรียมพร้อมของสารแคนนาบินอยด์ชนิดต่างๆ ในพืชกัญชา แพทย์ผู้ทำการรักษาหลายๆ คนต้องทำวิจัยด้วยตนเองเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่เป็นไปได้ของกัญชาเนื่องจากการฝึกอบรมทางการแพทย์ในสาขานี้ยังไม่เป็นมาตรฐาน
นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลบางแห่งได้สั่งห้ามการออกใบสั่งยากัญชาทางการแพทย์และโรงพยาบาลอื่นๆ ได้เรียกร้องขอความมั่นใจว่างานของพวกเขาจะไม่ตกอยู่ในความเสี่ยงหากออกใบสั่งยากัญชา
ในกรณีที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม กัญชาและส่วนประกอบของมันได้รับการตรวจสอบอย่างมากมายและใช้เป็นยารักษามาเป็นเวลาหลายปีด้วยการค่อยๆ พัฒนาทางคลินิก อีกทั้งหลักฐานในโลกแห่งความเป็นจริงชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่มีศักยภาพของสารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) สำหรับผู้ที่มีอาการโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรค MS, อาการปวดเรื้อรัง, อาการคลื่นไส้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็ง และโรคลมชัก อย่างไรก็ตามหลักฐานนี้ไม่ได้มีการแบ่งปันหรือเห็นคุณค่าความสำคัญอย่างกว้างขวางในการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือการศึกษาต่อเนื่องทางการแพทย์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
อาการปวดเรื้อรัง (Chronic pain)
เหตุผลที่พบบ่อยที่สุดโดยอ้างถึงผู้ป่วยที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ คือเพื่อบรรเทาอาการจากการปวดเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง,โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal Disorders) รวมถึงอาการปวดเส้นประสาทส่วนกลาง (central and peripheral neuropathies) อย่างไรก็ตามข้อมูลการทดลองทางคลินิก ของการรักษาอาการปวดเรื้อรังด้วยกัญชายังเป็นเพียงข้อเสนอแนะที่ยังไม่ได้ข้อสรุป
ประเด็นปัญหารวมถึงการขาดผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน, ความหลากหลายของอาการ, ขนาดตัวอย่างทดลองขนาดเล็กและการติดตามผลสั้นๆ ภาวะของโรคที่ได้รับการศึกษามากที่สุดปรากฏว่าเป็นอาการปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาททั้งส่วนปลาย ส่วนกลาง (Neuropathic pain) หลักฐานทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าสารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ในกัญชาสมควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดที่ดื้อต่อการรักษา (refractory pain) ด้วยยาที่มีอยู่ และการเรียกร้องให้มีการใช้สารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ในพืชกัญชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อประเมินเป็นทางเลือกแทนการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (opioids)
ในขณะที่มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าสารแคนนาบินอยด์ในกัญชาสามารถให้ผลพอประมาณต่อความเจ็บปวดนั้น การวิจัยเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในเรื่องของประสิทธิภาพ,ขนาดของโดส (ขนาด, ปริมาณยา), ช่องทางการรับยาด้วยวิธีต่างๆ และความปลอดภัย
โรคลมชัก (Epilepsy)
จากการพิจารณาตรวจสอบล่าสุดพบว่าสาร cannabidiol (CBD) ในกัญชามีประสิทธิภาพมากกว่ายาหลอก (placebo) ในการลดจำนวนการชักลงถึง 50% หรือมากกว่า และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยนั้นดีขึ้น ที่จริงเมื่อไม่นานมานี้ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุมัติการออกใบสั่งยากัญชาทางการแพทย์ที่สกัดจากสาร CBD เพื่อรักษาโรคลมชักชนิดรุนแรงที่หายากในเด็กและดื้อต่อการรักษา
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส (MS)
จากการศึกษาวิจัยมาเป็นอย่างดีพบว่าอาการปวดและภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) ของคนที่เป็นโรค MS คือเป้าหมายหลักของการบำบัดรักษาด้วยสารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ที่มาจากกัญชา และจากการพิจารณาทบทวนการศึกษาวิจัย 17 ชิ้นงานพบว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากกัญชามีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้อาการของภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งนั้นดีขึ้นในระยะยาว
การติดสิ่งเสพติด (Addiction)
จากการสำรวจผู้บริโภคในปี 2016 ที่เข้าร้านขายยากัญชาทางการแพทย์ (dispensary) ในรัฐมิชิแกนระบุว่าการใช้กัญชาทางการแพทย์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดมีความเกี่ยวข้องกับการลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (opioids) ลง 64% เช่นเดียวกันการวิเคราะห์ข้อมูลใบสั่งยาจากผู้ที่ลงทะเบียนโครงการช่วยเหลือด้านสุขภาพของสหรัฐฯได้แก่ เมดิแคร์ (US Medicare) [ด้วยการเข้าถึงทางการแพทย์สู่กัญชา] ชี้แนะว่าการเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์มีความเกี่ยวข้องกับการลดลงอย่างมีนัยสำคัญในการออกใบสั่งยาในยาแก้ปวดแผนปัจจุบันและยาตัวอื่นๆ ในบริบทของวิกฤตการพัฒนาอัตราการตายที่เกี่ยวข้องกับการเสพติดยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์จนเกินขนาด, บทบาทของกัญชาในการลดอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดจึงสมควรได้รับการพิจารณาอย่างเร่งด่วน
ผลข้างเคียง (adverse effects)
โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากกัญชาสามารถทนต่อผลข้างเคียงได้ดี (well tolerated) อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงทั่วไปของสาร CBD หรือสาร THC ปริมาณสูงในกัญชาซึ่งประกอบด้วย อาการคลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, อ่อนเพลียเหนื่อยล้า, และเวียนศีรษะ สำหรับบทบาทหน้าที่ของกัญชาในการบำบัดผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพจิตควรได้รับการศึกษาวิจัยอย่างรอบคอบ
Dr. Ware กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า
“โดยรวมแล้วกัญชาจะมีประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ป่วยอาการหนักที่ดื้อต่อการรักษาด้วยแผนปัจจุบัน การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของสารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ที่หลากหลายในพืชกัญชาจำจึงเป็นต้องมีอย่างชัดเจน ทั้งนี้มีผู้ป่วยจำนวนมากในสหราชอาณาจักรที่ไม่สามารถรอได้ และจะไม่รอคอยการวิจัยทางคลินิกเพิ่มเติม เนื่องด้วยผู้ป่วยเหล่านี้สมควรได้รับใบสั่งจ่ายยา และพวกเขาต้องการให้บรรดาแพทย์ผู้ทำการรักษารู้สึกมั่นใจมากพอที่จะออกใบสั่งจ่ายกัญชาที่ใช้ในการบำบัดโรค ด้วยข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นแนวทางที่ดีกว่าเพื่อทำให้ผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษาสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้เพื่อประเมินดูว่ากัญชาเหมาะสมกับพวกเขาหรือไม่”
ที่มา: Open Access Government – March 14, 2019
Health & Social Care News
https://www.openaccessgovernment.org/medicinal-cannabis-clinical-research-educational-support/60912/