Last updated: 5 ส.ค. 2562 |
วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 -13:20 น.
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : อภินันท์ อุ่นทินกร: /Apinan Untinkorn
การศึกษาใหม่ของนักวิทยาศาสตร์จาก UC Riverside (เป็น 1ใน 10 วิทยาเขตของ University of California) โดยจะตรวจสอบการเชื่อมโยงระหว่างระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (endocannabinoid system) ในร่างกายและการรับประทานที่มากเกินไป (overeating)
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์ได้รับอนุมัติทุนสนับสนุนจำนวน 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 52 ล้านบาท) เพื่อศึกษาโมเลกุลที่เหมือนกัญชาในร่างกาย ที่จะช่วยควบคุมพฤติกรรมการกินอาหาร (feeding behaviors) โดยทีมนักวิจัยหวังว่าจะได้พบกับส่วนประกอบเฉพาะในอาหารตะวันตกหรืออเมริกันแบบมาตรฐาน ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาลและไขมันในปริมาณสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสัญญาณในสมอง อีกทั้งทางเดินอาหารและโรคอ้วนที่เกิดจากอาหาร
Nicholas DiPatrizio ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านชีวการแพทย์ (biomedical sciences) เป็นผู้นำการศึกษานี้
“งานของเราจะทำในรูปแบบของหนูทดลอง โดยสนับสนุนการค้นพบและพัฒนากลยุทธ์การรักษาแบบใหม่เพื่อการรักษาโรคอ้วนและความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารที่เกี่ยวข้องอย่างปลอดภัย” DiPatrizio ได้กล่าวไว้ในข่าวแจกประชาสัมพันธ์ (press release) โดยอุปสรรคสำคัญในปัจจุบันต่อการรักษาโรคอ้วนที่มีประสิทธิภาพคือ การขาดทางเลือกทางการรักษาที่เชื่อถือได้
เอนโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoids) เป็นโมเลกุลเหมือนกัญชาที่ผลิตโดยธรรมชาติเพื่อช่วยในการควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยาที่หลากหลาย ด้วยวิธีการศึกษาอื่นๆ เกี่ยวกับหนู DiPatrizio และทีมของเขาพบว่าระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (endocannabinoid (ECS) ในลำไส้มีบทบาทสำคัญในเส้นทางการส่งสัญญาณระหว่างสมองและลำไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรู้สึกอิ่มมาก หรืออิ่มธรรมดา ด้วยการให้อาหารที่ทำให้หนูกลายเป็นโรคอ้วน ระบบเอนโดแคนนาบินอยด์จะเกิดข้อบกพร่อง
DiPatrizio กล่าวว่า “เราคิดว่าระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (endocannabinoid) จะได้รับการปรับรูปแบบใหม่หลังจากได้รับสารอาหารพลังงานสูง และมีส่วนช่วยในการรับประทานมากเกินไปในโรคอ้วนที่เกิดจากอาหาร โดยผลลัพธ์เบื้องต้นของเรารองรับสมมติฐานนี้”
สมมติฐานของ DiPatrizio สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของระบบเอนโดนแคนนาบินอยด์ ( ECS) ที่มีต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นักวิจัยการศึกษานี้พบหลักฐานว่าการบริโภคพลังงานที่ไม่สมดุลก่อให้เกิดการตอบสนองในระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS) ซึ่งทำให้มันกลายเป็นใช้งานมากเกินไป การตอบสนองนี้อาจมีส่วนทำให้เกิดการสะสมไขมันและในที่สุดอาจนำไปสู่โรคอ้วน
การศึกษาซึ่งกำลังเกิดขึ้นจะได้รับทุนผ่านสถาบันโรคเบาหวานและทางเดินอาหารแห่งชาติกับสถาบันสุขภาพโรคไตแห่งชาติ และเมื่อเดือนที่ผ่านมาทาง DiPatrizio ได้รับทุน 744,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 22 ล้านบาท) จากโครงการวิจัยโรคที่เกี่ยวข้องกับยาสูบเพื่อตรวจสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับกัญชาในระยะยาวต่อโรคทางเมตาบอลิก เช่นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การใช้กัญชากับโรคอ้วน, โรคเบาหวาน
จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้เปิดเผยความเชื่อมโยงระหว่างการใช้กัญชากับอัตราโรคอ้วนที่ลดลง จากการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติด้านระบาดวิทยา (the International Journal of Epidemiology) แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้กัญชามีแนวโน้มที่จะเพิ่มน้ำหนักน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้
โดยการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเวชศาสตร์กายจิต (Psychosomatic Medicine) ชี้ให้เห็นว่าผู้ชายที่ใช้กัญชามีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่าผู้ชายที่ไม่ได้ใช้กัญชา ซึ่งค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ลดลงหรือการวัดไขมันในร่างกายมีความสัมพันธ์กับอัตราความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจที่ลดลง
ในปี 2017 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และสุขภาพของออริกอน (Oregon’s Health and Science University) ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่พบว่าการใช้กัญชาเป็นประจำมีส่วนเกี่ยวข้องกับกับเปอร์เซ็นต์การลดไขมันในร่างกาย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้ที่บริโภคกัญชามากกว่า 5 ครั้งต่อเดือนมีอัตราไขมันในร่างกายโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชา
การค้นพบก่อนหน้านี้ชี้แนะให้เห็นว่าอิทธิพลของกัญชาในระบบเอนโดแคนนาบินอยด์ (ECS) อาจส่งผลต่อความสมดุลของพลังงาน และมีบทบาทเกี่ยวกับการรักษาที่มีศักยภาพในโรคอ้วน
ที่มา: MEDICAL MARIJUANA, INC. NEWS / July 19, 2019 By: E.I. Hillin
https://news.medicalmarijuanainc.com/researchers-prep-for-study-on-how-cannabis-like-molecules-may-influence-obesity/
27 เม.ย 2564