นักวิทยาศาสตร์ฮาร์วาร์ดฆ่าเซลล์มะเร็งตับอ่อนด้วยสารประกอบจากกัญชาในงานทดลองใหม่

Last updated: 9 ก.ย. 2562  | 

วันที่ 9 กันยายน 2562 - 14:25 น.

"Exclusive" 
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: สิริญา มิตรศรัทธา
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร

 

กัญชามีสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่าฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เหมือนกับพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งนักวิจัยจากสถาบันมะเร็งดาน่า-ฟาร์เบอร์แห่งฮาร์วาร์ดพบฟลาโวนอยด์กัญชาตัวพิเศษ FBL-03G ที่แสดงถึงความเป็นไปได้ของการรักษามะเร็งตับอ่อน นักวิทยาศาสตร์พบ FBL-03G ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็งตับอ่อนทั้งเซลล์มะเร็งเฉพาะจุดหรือที่แพร่กระจายไปแล้ว การใช้ฟลาโวนอยด์ที่มาจากกัญชาชนิดที่มุ่งสู่ก้อนเนื้อร้ายสามารถฆ่าเซลล์เนื้อร้ายได้ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งตับอ่อนอีกด้วย

แต่สาร FBL-03G ฟลาโวนอยด์ที่ได้มาจากกัญชากลับเป็นสารประกอบแค่ 0.14% ในกัญชา นั่นแปลว่านักวิทยาศาสตร์จะต้องใช้ทั้งฟาร์มเพื่อปลูกและสกัดเพื่อให้ได้ปริมาณที่เพียงพอ แต่สิ่งนี้ได้เปลี่ยนไปได้เพราะนักวิทยาศาสตร์พบวิธีพันธุวิศวกรรมเพื่อตัดแต่งพันธุกรรมของฟลาโวนอยด์ตัวเฉพาะนี้เพื่อให้ได้ในปริมาณที่พอจะนำไปใช้ศึกษาประโยชน์ของมัน

นอกจาก FBL-03G จะสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งตับอ่อนได้แล้ว มันก็สามารถต่อต้านเซลล์มะเร็งอื่นๆ ได้อีกด้วย มันยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในส่วนอื่นๆ ของร่างกายซึ่งเป็นสัญญาณของการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง หากการทดลองนี้สำเร็จในด้านการทดลองทางคลินิก เราจะมีวิธีการรักษาที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้คนอย่างมาก ณ ตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ฮาร์วาร์ดกำลังพยายามทำการทดลองก่อนการทดลองทางคลินิก (pre-clinic) ซึ่งน่าจะเสร็จช่วงปลายปี 2020

 

อ้างอิง: https://ca.news.yahoo.com/study-on-cannabis-chemical-as-a-treatment-for-pancreatic-cancer-may-have-major-impact-harvard-researcher-says-165116708.html