Last updated: 12 ก.ย. 2562 |
วันที่ 11 กันยายน 2562 -11:40 น.
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร/ Natthawut J.
โรคดึงผม (Trichotillomania-TMM) หรือ Hair-pulling disorder เป็นอาการผิดปกติที่มีพฤติกรรมย้ำทำ (compulsive behavior) โดยปกติแล้วแพทย์จะสั่งยาแก้ซึมเศร้าและยาลดความวิตกกังวลเพื่อรักษาพฤติกรรม ย้ำทำที่ผิดปกตินี้ และสิ่งเหล่านี้จะมาพร้อมกับผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่นน้ำหนักขึ้น เซื่องซึม คลื่นไส้ ท้องเสีย ฯลฯ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่คนจำนวนมากหันไปใช้กัญชาเพื่อเป็นทางเลือกรักษาอาการของโรคดึงผมซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) เช่นนี้ เนื่องจากกัญชาทางการแพทย์ที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรคดึงผมจะมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการ
โรคดึงผม -Trichotillomania (TMM) เป็นโรคทางจิตเวชกลุ่มย้ำคิดย้ำทำที่เกี่ยวข้องกับการดึงหรือถอนผมหรือขนของตนเองออกจากร่างกายบริเวณต่างๆ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ผมหนังศีรษะ แต่รวมไปถึงขนคิ้ว ขนตาหรือแม้แต่ขนเส้นแขนก็ไม่ยกเว้นและคนที่มีพฤติกรรมย้ำทำเช่นนี้จะหยุดอาการได้ยาก กลุ่มที่ดึงผมขณะรู้ตัวเนื่องจากการดึงผมช่วยทำให้ผ่อนคลาย หรือทำให้ความวิตกกังวล ความเครียดลดลง และกลุ่มที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัวคือดึงอัตโนมัติขณะกำลังทำกิจกรรมอื่น ความผิดปกตินี้เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันมากกว่า 200,000 คนในแต่ละปีนั้นสามารถรักษาได้ แต่ทว่าบอกตรงๆ ตามความเป็นจริงแล้วการรักษาด้วยยาแบบดั้งเดิม (การแพทย์แผนเดิม) นั้นไม่เป็นผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว กัญชาสามารถเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาอาการย้ำทำผิดปกติ ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่เกี่ยวกับด้านความผิดปกติทางจิตเวชของโรคดึงผมนี้ที่การรักษาอาการด้วยยายังไม่ได้รับการรับรองจาก FDA (องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ) ในการศึกษานำร่อง (pilot study) เมื่อปี 2011 กลุ่มผู้ทดลองเพศหญิงอายุเฉลี่ย 33 ปี จำนวน 14 คน ได้รับสารสังเคราะห์โดรนาบินอล (dronabinol) ซึ่งเป็นสาร THC สังเคราะห์จากกัญชาในปริมาณ 2.5 -15 มิลลิกรัมต่อวัน สารสังเคราะห์นี้มักใช้ในการบำบัดรักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด ในการทดลองแบบเปิด 12 สัปดาห์ (ที่ทั้งผู้ทำวิจัยและผู้ร่วมทดลองจะรู้ว่าได้รับการรักษาแบบไหน) นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมข้อมูลจากเดือนพฤศจิกายน ปี 2009 ถึงธันวาคม ปี 2010 ผู้ได้รับการทดสอบทั้งหมดได้รับการประเมินทั้งก่อนและหลังการรักษา
ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นหนึ่งในแบบแรกๆ ที่ตรวจสอบผลของกัญชาที่สามารถออกฤทธิ์กระตุ้นให้ผลทางบวกต่อ โรคดึงผม (trichotillomania) และผลลัพธ์ก็น่าตื่นเต้นทีเดียว โดยทีมนักวิจัยใช้มาตรวัดอัตราการดึงเส้นผมของโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ (MGH-HPS) และวัดผลสำเร็จโดยดูจากการลดหรือเพิ่มของคะแนนตัวเลขที่เป็นฐานก่อนการทดลอง (baseline score) และคะแนนตัวเลขจุดสิ้นสุดคือหลังการทดลอง (endpoint score) ในตอนท้ายของการศึกษาจาก MGH-HPS คะแนนที่เป็นฐานก่อนการทดลองลดลงจากค่าเฉลี่ย 16.5 เป็น 8.7 ในตอนสิ้นสุดของการศึกษา (ทดลอง) กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เข้าร่วมทดลอง 12 คน (ซึ่งมี 2 คน ต้องหยุดการทดลองเนื่องจากสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้) สังเกตเห็นว่าอาการของโรคดึงผม (TTM) ของพวกเขาดีขึ้นจริงๆ และ 9 คนในผู้ร่วมทดลอง 12 คนเหล่านั้นเห็นด้วย “มากจนถึงมากๆ” ว่าอาการดีขึ้น
กลุ่มผู้ได้รับการทดลองจะได้รับยาปริมาณเฉลี่ย 11.4 มิลิลิกรัมต่อวัน สิ่งที่ดีที่สุดของการศึกษาคือไม่มีรายงานถึงผลกระทบร้ายแรงต่อความสามารถทางพฤติกรรม ความคิดความเข้าใจ (cognitive abilities) จากผู้ได้รับการทดลองคนใด กล่าวอีกนัยหนึ่งคนที่ทุกข์ทรมานจากโรคดึงผม (TMM ) อาจได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เช่นกัญชา กลุ่มผู้ป่วยได้รายงานเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์สำหรับการรักษาโรคดึงผม (trichotillomania-TMM) ว่าช่วยให้พวกเขารู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลและลดแรงกระตุ้นในการดึงผมของพวกเขา กัญชาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาโรคดึงผม
อย่างไรก็ตามทีมนักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตว่าการทดลองดังกล่าวเป็นแบบเปิดและผู้เข้ารับการทดลองมีจำนวนไม่มาก การศึกษาแบบควบคุมด้วยยาหลอกแบบอำพรางที่มีขนาดทดลองที่ใหญ่ขึ้น (blind, placebo-controlled study) จะให้ผลสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ที่มา: Thegrowthop By Brea Mosley, The Fresh Toast :August 26, 2019
1. https://www.thegrowthop.com/cannabis-health/how-marijuana-can-help-with-ocds-compulsive-behaviours
2.https://www.marijuanadoctors.com/conditions/trichotillomania/