Last updated: 17 ธ.ค. 2562 |
วันที่ 17 ธันวาคม 2562 - 10:04 น.
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร/ Natthawut J.
ผู้คนชื่นชอบกาแฟ รวมไปถึงพวกเราคอกาแฟทั้งหลายที่ส่วนมากค่อนข้างจะต้องพึ่งพิงสิ่งนี้กาแฟเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขาย (traded commodities) กันมากที่สุดในโลก เป็นสารกระตุ้นประสาทตามกฎหมายที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง และผลกระทบที่มีต่อวิถีชีวิตในยุคสมัยใหม่นั้นไม่อาจปฏิเสธได้
กาแฟสดหนึ่งถ้วยเป็นแหล่งให้ได้ลิ้มรสชาติและความดื่มด่ำ แต่ทว่าเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้คนปล่อยตัวปล่อยใจไปกับกาแฟเป็นเพราะมันก่อให้เกิดความตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า
คาเฟอีน (caffeine) เป็นสารออกฤทธิ์ซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นความรู้สึกสดชื่นมีพลังที่เราได้สัมผัส เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในกาแฟ (มีอยู่ในชาและน้ำอัดลมด้วย)ในขณะที่คาเฟอีน (caffeine) เป็นสารกระตุ้นอย่างเคร่งครัด กัญชาก็ถือเป็นทั้งสารกระตุ้นและกดประสาทโดยทั่วไปแล้วก็คือ กัญชาก่อให้เกิดทั้งพลัง การตื่นตัว ความกระปรี้กระเปร่า (energizing) และมีผลทำให้เคลิบเคลิ้ม สะลึมสะลือ สงบ (sedative effect)ผลที่เกิดขึ้นอย่างแม่นยำของกัญชานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมไปถึงชนิดของกัญชา ปริมาณที่ได้รับความคุ้นเคยโดยรวม สภาพแวดล้อมทางสังคมและอื่น ๆ
แม้ว่าการปฏิสัมพันธ์หรือปฏิกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างสารคาเฟอีนและกัญชาจะไม่เป็นที่เข้าใจกันอย่างสมบูรณ์โดยทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่เรารู้จนถึงตอนนี้เพื่อที่จะครอบคลุมความสัมพันธ์ของทั้งกัญชาและคาเฟอีนอย่างถูกต้อง เราควรสัมผัสคาเฟอีนและสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกายเมื่อเรารับมันเข้าไป
คาเฟอีน (caffeine) ทำอะไรได้บ้าง?
คาเฟอีน (caffeine) มีเส้นทางที่กำหนดแตกต่างกันหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อสมอง โดยเป็นตัวกระตุ้นการผลิตสารสื่อประสาท/ฮอร์โมนที่ชื่ออะดรีนาลีน (adrenaline) ซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทำให้เลือดสูบฉีดได้ดีและเปิดทางเดินหายใจ และคาเฟอีนยังเพิ่มระดับของสารโดพามีน (dopamine) ในสมอง (และชะลอการดูดซึมกลับของโดพามีนได้แม่นยำ) ทำให้คุณรู้สึกยอดเยี่ยม แต่ผลที่เกิดขึ้นที่สำคัญที่สุดของคาเฟอีนคือความสัมพันธ์กับสารอะดีโนซีน (adenosine)
อะดีโนซีน (Adenosine) เป็นสารประกอบทางเคมีที่สร้างขึ้นในร่างกาย ซึ่งช่วยในการควบคุมสิ่งที่เรียกว่า วงจรการตื่นหลับ (sleep-wake cycles)วงจรการตื่นหลับ (sleep-wake cycles) เป็นกลไกทางชีวภาพที่ซับซ้อนที่มีบทบาทสำคัญในการนอนหลับและการตื่นขึ้นมา ทุกครั้งที่เราตื่นปริมาณอะดีโนซีนในสมองจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้คนรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียเมื่อโมเลกุลอะดีโนซีนจับกับตัวรับในสมอง (ตัวรับ A1) พวกมันจะชะลอการทำงานของสมอง ซึ่งหมายความว่ายิ่งคุณตื่นนานเท่าไหร่คุณก็ยิ่งเหนื่อยล้า อ่อนเพลียมากขึ้นเท่านั้น
สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม ในขณะที่เรากำลังนอนหลับระดับอะดีโนซีนจะค่อยๆ ลดลงและการที่ระดับอะดีโนซีนต่ำจะส่งผลให้เกิดความตื่นตัวโดยรวมซึ่งจำเป็นสำหรับวันต่อไป
อะดีโนซีน คาเฟอีนและโดพามีน (Adenosine, Caffeine and Dopamine)
อะดีโนซีน (adenosine) และคาเฟอีน (caffeine) มีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน – และนั่นหมายความว่า สารเหล่านี้พอดีกับตัวรับเซลล์เดียวกัน (ตัวรับ A1) สิ่งนี้ช่วยให้โมเลกุลเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเซลล์เฉพาะในสมองของเรา
อะดีโนซีน (Adenosine) เป็นตัวกระตุ้นตัวรับ (หรือเรียกอีกอย่างว่า สารอะโกนิสต์ -agonist) ในขณะที่คาเฟอีนจะบล็อกตัวรับ (สารแอนตาอะโกนิสต์- antagonist-หยุดหรือลดปฏิกิริยาในร่างกาย) นอกเหนือจากคาเฟอีนและอะดีโนซีนแล้ว ยังมีสารโดพามีน (dopamine) ที่ติดอยู่กับแหล่งตัวรับ A1 เดียวกัน แต่ในส่วนอื่นของตัวรับ
สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อโมเลกุลอะดีโนซีนติดอยู่กับเซลล์ สารโดพามีนไม่สามารถเชื่อมต่อได้ ผลที่เกิดขึ้นนี้อธิบายว่าทำไมเราถึงมีอารมณ์เสีย อารมณ์ไม่ดีเมื่อเราง่วงนอนแต่เมื่อคาเฟอีนยึดติดกับตัวรับ A1:
คาเฟอีนทำให้เราตื่นตัว กระปรี้กระเปร่าโดยป้องกันไม่ให้อะดีโนซีนเชื่อมต่อและทำให้เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจโดยยอมให้โดพามีนเชื่อมต่อ
ถ้าผสมกัญชากับคาเฟอีน จะเกิดอะไรขึ้น?
ผลที่เกิดขึ้นที่สำคัญที่สุด (อย่างน้อยก็ค้นพบจนถึงตอนนี้) ของการผสมคาเฟอีนกับกัญชา ก็คือการรวมกันนี้ส่งผลกระทบต่อความจำระยะสั้น (เช่น การลืมสิ่งที่พูดถึง ทิ้งกุญแจไว้ที่ไหน และอื่น ๆ )
เป็นที่รู้กันว่ากัญชาทำให้ความจำระยะสั้นลดลงด้วยตัวมันเอง แต่ผลที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ดูเหมือนว่ายิ่งจะทำให้เพิ่มขึ้นเมื่อไปรวมกับสารคาเฟอีน (caffeine)
ความบกพร่อง ผิดปกติเกิดขึ้นในสมองส่วนฮิบโปแคมปัส (hippocampus) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนสำคัญของสมองที่รับผิดชอบการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยความจำจำนวนมาก ในฮิบโปแคมปัสมีเซลล์ประสาทจำนวนมากที่มีตัวรับ cannabinoid CB1 และ adenosine / caffeine A1 อยู่
ในการศึกษาเมื่อปี 2011 ซึ่งนำมารวมกันทั้งในร่างกาย (vivo) และในหลอดทดลอง (vitro) คณะนักวิจัยพบว่า (1) เมื่อตัวรับ A1 ถูกเปิดใช้งาน (ตัวรับเหล่านี้ถูกกระตุ้นโดยอะดีโนซีน และถูกปิดกั้นโดยคาเฟอีน), สารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) สูญเสียประสิทธิภาพในฮิปโปแคมปัส (โดยประมาณ ⅓) แต่เมื่อตัวรับ A1 ถูกปิดกั้นโดยคาเฟอีน (ซึ่งป้องกันไม่ให้โมเลกุล adenosine เชื่อมต่อกับตัวรับ A1) ประสิทธิผลของ cannabinoids จะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงส่งผลให้ความจำเสื่อมระยะสั้นเพิ่มขึ้น
นี่ประมาณว่าถ้าคนๆ หนึ่งมีแนวโน้มที่จะหลงลืมเมื่อพวกเขากำลังเคลิบเคลิ้ม เมากัญชา พวกเขาก็จะยิ่งหลงลืมถ้าพวกเขารวมคาเฟอีนและกัญชาเข้าด้วยกัน
ความสัมพันธ์นี้บ่งบอกด้วยว่าการใช้กัญชาในเวลากลางคืนจะทำให้ความจำในระยะสั้นลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ในเวลากลางวันเป็นเพราะสารอะดีโนซีนในสมองมีมากขึ้นสาร THC ในกัญชายังเพิ่มระดับของสารโดพามีน (2) ด้วยซึ่งมีบทบาทอย่างชัดเจนว่าทำไมผู้คนถึงชอบใช้กัญชากันมาก
ดังที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ว่าอะดีโนซีน (adenosine) ป้องกันโดพามีน (dopamine) จากการเชื่อมต่อกับตัวรับ A1 ในขณะที่คาเฟอีน (caffeine) ยอมให้โดพามีนเชื่อมต่ออย่างสำคัญ นี่หมายถึงว่าถ้าใครกำลังดื่มกาแฟและสูบกัญชาในเวลาเดียวกัน:
การรวมกันของสารโดพามีน (dopamine) ที่เพิ่มขึ้นและสารอะดีโนซีน (adenosine) ที่ลดลงนี้เป็นหตุที่ผลว่าทำไมคาเฟอีน (caffeine) และกัญชาทำให้เรารู้สึกตื่นตัว และมีกำลังวังชาในเวลาเดียวกัน
การศึกษาเพิ่มเติม
งานวิจัยในปี 2014 (3) ได้ตรวจสอบและสังเกตผลของสาร THC บริสุทธิ์ที่รวมกับสารที่เรียกว่า MSX-3 ซึ่งเลียนแบบผลที่เกิดขึ้นของคาเฟอีน (caffeine) ในลิงกระรอก
ลิงเหล่านั้นต้องพึ่งพาสาร THC แล้วและคณะนักวิจัยกำลังพิจารณาว่าถ้าปริมาณสาร MSX-3 ที่แตกต่างกันจะมีผลต่อสัตว์ที่จะบริโภค THC ในปริมาณมากขึ้น (หรือน้อยกว่า) หรือไม่
พวกเขาพบว่าปริมาณของสาร MSX-3 ที่น้อยมีอิทธิพลต่อลิงที่จะบริโภค THC ในปริมาณน้อย ในขณะที่ปริมาณที่มากของสาร MSX-3 ส่งผลให้การบริโภคของ THC นั้นเพิ่มขึ้น
ผลลัพธ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าปริมาณคาเฟอีนต่ำอาจช่วยเพิ่มความมึนเมาที่เกิดจาก THC ในกัญชา ซึ่งส่งผลให้ความอยากในการบริโภคกัญชามากขึ้นลดน้อยลง ตรงกันข้ามปริมาณคาเฟอีนจำนวนมากอาจส่งผลกระทบต่อความเคลิบเคลิ้ม มึนเมาของคุณในทางกลับกันซึ่งทำให้บริโภคกัญชามากขึ้น แน่นอนว่าเนื่องจากการวิจัยนี้ดำเนินการกับสัตว์อันน่ารักและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่าผลลัพธ์เหล่านี้จะส่งเปลี่ยนไปเป็นสรีรวิทยาของมนุษย์หรือไม่
การศึกษาอื่น (4) ในปี 2012 ยืนยันว่าการรวมกันของสารคาเฟอีน (caffeine) และสาร THC ส่งผลให้ความผิดปกติของหน่วยความจำ (impairment of memory) เพิ่มเติมในหนู
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการรวมกันของสารคาเฟอีน (caffeine) และสาร THC ปริมาณน้อยจะทำให้ความจำบกพร่องในขอบเขตที่มากกว่าการใช้ THC ปริมาณสูงด้วยตัวมันเองเดี่ยวๆ
ความวิตกกังวลแย่มากจริงๆ..เมื่อใช้กัญชารวมกับคาเฟอีน
การใช้กัญชาในปริมาณมากก่อให้เกิดอาการวิตกกังวลและความหวาดระแวงอย่างรุนแรงแม้ในพวกคอกัญชาทั้งหลายที่มีประสบการณ์และผลกระทบนี้จะเลวร้ายยิ่งขึ้นหากบริโภคคาเฟอีน (caffeine) ปริมาณมากในเวลาเดียวกัน
จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้นในปี 2014 ชี้ให้เห็นว่าการบริโภคคาเฟอีน[A1] (caffeine) ในปริมาณมากจะมีอิทธิพลต่อผู้ใช้ที่บริโภคกัญชาปริมาณมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง
ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากสาร THC ในกัญชานั้นไม่เป็นอันตรายถึงแม้ว่ามันจะน่ากลัวอย่างยากที่จะปฏิเสธและหากกำลังมองหาวิธีที่จะลดฤทธิ์ทางจิตประสาทอย่างรวดเร็ว ลองเข้าไปดูบทความใน 8 วิธีการบรรเทาอาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมาที่ไม่น่ายินดี (the top 8 methods for coming down from a nasty high)
อ้างอิง:
Green Camp/ December 9, 2019
By: Marco Medicb https://greencamp.com/caffeine-and-weed/ y Marco Medic
https://greencamp.com/caffeine-and-weed/
27 เม.ย 2564