Last updated: 24 ม.ค. 2563 |
วันที่ 24 มกราคม 2563 - 11:40 น.
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: สิริญา มิตรศรัทธา/Siriya Mitsattha
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร/ Natthawut J.
วันนี้ CANNHEALTH จะพาคุณไปเรียนรู้ถึงการปลูกกัญชากลางแจ้ง vs ปลูกในโรงเรือน ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรม ซึ่งคนไทยสืบทอดมายาวนาน จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย มาเป็นเวลานาน อีกทั้งกัญชง พืชชนิดเดียวกันกับกัญชาก็ยังเป็น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอุตสาหกรรมเส้นใยและการทำเยื่อกระดาษ
แม้ว่าการปลูกกัญชาในกรณีของบุคคลทั่วไปจะยังไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การเข้าใจความแตกต่างของวิธีการปลูกรวมไปถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อผลผลิตกัญชาก็เป็นความรู้ที่สำคัญ ซึ่งทำให้เราเข้าใจเรื่องกัญชาตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำได้
อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้ที่มีสิทธิ์ในการปลูกกัญชาได้นั้น คือ
1. หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย
หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด สภากาชาดไทย
2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
เภสัชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์หรือแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าก ารกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
3. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจ ัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์
หรือเภสัชศาสตร์
4. เกษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นวิสา หกิจชุมชน
หรือสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายและร่วมดำเนินการ
กับหน่วยงานรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษา
5. ผู้ขออนุญาตที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ
เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
เป็นนิติบุคคลต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและกรรมการหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 ใน 3 ต้องมีสัญชาติไทยและมีสำนักงานในประเทศไทย
การปลูกกลางแจ้งและในเรือนมีความแตกต่างกันในแต่ละปัจจัยเช่น สภาพแวดล้อม ค่าใช้จ่าย คุณภาพของผลผลิต
การปลูกในโรงเรือน
- ระบบปิดควบคุมสภาพแวดล้อม
- มักใช้พื้นที่น้อยกว่าปลูกกลางแจ้ง
- พลังงานแสงมาจากหลอดไฟ เช่นหลอด LED
- ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือน
- ปลอดภัยจากลม พายุ ศัตรูพืชอย่างแมลง
- ปลูกได้หลายรอบต่อปี
การปลูกกลางแจ้ง
- ปลูกกลางแจ้งในพื้นที่โล่ง เช่น ไร่ สวน แปลง
- ปลูกภายใต้ระบบความปลอดภัยที่รัดกุม
- รับแสงแดดธรรมชาติ
- อุณหภูมิ ความชื้นธรรมชาติขึ้นอยู่กับพื้นที่
- เจอฝน ลม พายุ
- พบเจอศัตรูพืช เช่น แมลง เชื้อรา
- มักปลูกได้ 1 ครั้งต่อปี
ปัจจัย “การควบคุม” เป็นปัจจัยหลักสำคัญของการป ลูกกัญชา การควบคุมเรื่องสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมสำหรับการเติบโต ของต้นกัญชาคือตัวกำหนดคุณภาพของผลผลิต ปัจจัยย่อย เช่นอุณหภูมิ แสง ความชื้น แสง รวมไปถึงปัจจัยทางธรรมาชาติ เช่น ฝน ลม พายุ ศัตรูพืชอย่างแมลง โรคของพืช ล้วนมีผลกระทบต่อผลผลิตอย่างมาก
ในโรงเรือน
- ควบคุมอุณหภูมิ แสง ความชื้น และการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของกัญชา
- ผลผลิตไม่โดนฝน ลม พายุ
- ผลผลิตเกิดความเสียหายจากแม ลงน้อย มีโรคน้อยและศัตรูพืชน้อยกว่า
กลางแจ้ง
- ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิ แสง ความชื้น
- ผลผลิตโดนลม ฝน พายุ
- ผลผลิตเกิดความเสียหายจากแมลงมีโรคมาก
ปัจจัย “ค่าใช้จ่าย” เป็นปัจจัยต้นๆ ที่ผู้ปลูกหรือเจ้าของธุรกิจมักจะคำนึงถึงว่าจะคุ้มค่า หรือไม่ ซึ่งในการปลูกกัญชาทั้งในโรงเรือนและกลางแจ้งนั้นมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันทั้งค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติ การและการดูแลรักษาแปลงปลูก กัญชา
ในโรงเรือน
- ค่าใช้จ่ายสูงกว่ารวมไปถึงค่าน้ำ ค่าไฟ
- ใช้แรงงานคนปลูกและดูแลน้อยกว่า
- เปลืองทรัพยากรพลังงานไฟฟ้ามากกว่า
- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไฟและการระบายอากาศภายในโรงเรือน
กลางแจ้ง
- ค่าน้ำ ค่าไฟน้อยกว่า
- ค่าแรงงานคนปลูกและคนดูแลมากกว่าเนื่องมาจากขนาดของแปลงปลูก
- ใช้ทุนในการเริ่มต้นมากกว่า เช่น การซื้อที่ดินการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย การเริ่มปฏิบัติการ
ปัจจัย “คุณภาพ” ของผลผลิตมีความแตกต่างกันระหว่างปลูกในโรงเรือนและกลางแจ้ง แม้ว่าผลผลิตในโรงเรือนจะดูสวยงามและสมบูรณ์ขายได้ราคามากกว่า แต่ผลผลิตกลางแจ้งอาจได้เปรียบในเรื่องของสี กลิ่นและความเป็นธรรมชาติที่มากกว่าแต่ในที่สุดแล้วผลผลิตที่ได้ จากการปลูกที่แตกต่างก็ยังคงเรื่องรสชาติ และคุณสมบัติเอาไว้
ในโรงเรือน
- ผลผลิตที่มีดอกสวยงามกว่าเนื่องจากได้รับการดูแลและตกแต่ง
- จำนวนผลผลิตน้อยกว่า
- ผลผลิตมีความสมบูรณ์กว่าเพราะได้รับความเสียหายจาก ลม ฝนและศัตรูพืชน้อยกว่า
กลางแจ้ง
- ผลผลิตมีสีเข้มกว่า เบากว่า แต่ดอกแน่นกว่าดอกที่ปลูกใน โรงเรือน
- ได้จำนวนผลผลิตมากกว่าในโรง เรือน
- สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที ่เหมาะสมมากกว่า
ปัจจัย “ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม” อาจเป็นหัวข้อใหม่ที่มีบทบาทมากขึ้นในยุคปัจจุบันที่เริ่มเกิดการตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ การปลูกกัญชานั้นก็มีส่วนส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการปลูก
ในโรงเรือน
- ใช้พลังงานมากกว่าทั้งไฟฟ้าและน้ำ
- ผลิตปริมาณก๊าซเรือนกระจกมา กกว่า
กลางแจ้ง
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า
- มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (sustainability)
อ้างอิง:
1. Top 5 Easiest Cannabis Strains for Indoor Cultivation, Piverto
https://piverto.com/blogs/news/top-5-easiest-cannabis-strains-for-indoor-cultivation
2. Growing Cannabis Indoors vs. Outdoors: 3 Key Differences, Trevor Hennings
https://www.leafly.com/news/growing/indoor-vs-outdoor-cannabis-growing-3-key-differences
3. Outdoor vs Indoor: Cannabis 101, Agate Dreams
https://www.agatedreams.com/outdoor-vs-indoor-cannabis/
4. Cultivating Cannabis: Indoor vs Outdoor vs Greenhouse, American Cannabis Company
https://americancannabisconsulting.com/cannabis-indoor-vs-outdoor-cultivation/
5. Differences Between Growing Marijuana Indoors vs Outdoors, Joseph Misulonas
https://www.civilized.life/articles/differences-growing-marijuana-indoors-vs-outdoors/
6. Indoor vs Outdoor Growing: What’s the Difference?
https://www.civilized.life/articles/differences-growing-marijuana-indoors-vs-outdoors/
7. The Best Outdoor Cannabis Strains, Growbarato
https://www.growbarato.net/blog/en/the-best-outdoor-cannabis-strains/
8. How to Grow Marijuana Outdoors: Growing Marijuana Outdoors Beginner’s Guide
https://www.weekendgardener.net/growing-marijuana-outdoors/
27 เม.ย 2564