Last updated: 16 มี.ค. 2563 |
"Exclusive"
หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาไทยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 โดย Cannhealth
เขียน/แปล: วันดี กุศลธรรมรัตน์/ Wandee K.
เรียบเรียง : ณัฐวุฒิ จงจิตร/ Natthawut J.
การปลูกกัญชาที่มีอยู่ในสถานที่เพาะปลูกโดยอาชีพที่ได้รับการอนุมัติแล้ว หากไม่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดก็จะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายและทำให้ผู้ใช้กัญชาเจ็บป่วยเองในกระบวนการ แม้แต่การปนเปื้อนของกัญชา (cannabis contamination) ในกรณีที่พบได้น้อย ประโยชน์ของกัญชาที่มีต่อสุขภาพก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
เพื่อลดความเสี่ยงในการพบกัญชาที่มีสารปนเปื้อน คุณควรซื้อกัญชาทางการแพทย์จากร้านขายยากัญชา (dispensary) ที่มีการควบคุมและหลีกเลี่ยงการปลูกกัญชาเองที่บ้านโดยทั่วไป (เว้นแต่คุณจะรู้อย่างจริงจังว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่) ซึ่งการปลูกกัญชาที่มีอยู่ในสถานที่เพาะปลูกโดยอาชีพที่ได้รับการอนุมัติแล้ว หากไม่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด มันง่ายที่จะเกิดข้อผิดพลาดและทำให้ผู้ใช้กัญชาป่วยเองในกระบวนการ
สารปนเปื้อนอันตรายในกัญชา: เชื้อรา, โลหะหนัก, เชื้อก่อโรคและยาฆ่าแมลง (Harmful Cannabis Contaminants: Mold, Heavy Metals, Pathogens, And Pesticides)
กัญชาทางการแพทย์นั้นได้รับการปลูกและเก็บเกี่ยวภายใต้สภาวะที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเช่นเดียวกับพืชผลอุตสาหกรรมอื่นๆ ในความเป็นจริงมาตรฐานในรัฐแมสซาชูเซตส์นั้นเข้มงวดมากจนสามารถขัดขวางการเข้าถึงกัญชาของผู้ป่วยได้จริง ซึ่งในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมาทำให้ผู้ว่าการรัฐ Charlie Baker ยอมผ่อนผันชั่วคราวเพื่อให้ร้านขายยาขายผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบแล้วตั้งข้อจำกัดเพื่อควบคุม
แม้ว่าจะไม่น่าเป็นไปได้สูงมากภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดเช่นนี้ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่กัญชาที่ปลูกในภาคอุตสาหกรรมจะปนเปื้อนด้วยสารอื่น ๆ ความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อมีการพยายามปลูกกัญชากันเองที่บ้าน
ทั้งนี้ความเสี่ยงของการได้รับสารปนเปื้อนในกัญชาจะมีน้อยมาก ตราบใดที่ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้รับยาจากร้านจำหน่ายกัญชาในรัฐแมสซาชูเซตส์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้กัญชาควรทราบวิธีแยกแยะและจำแนกกัญชาที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ซึ่งหากคุณเป็นผู้ป่วยที่ต้องใช้กัญชาทางการแพทย์ควรระวังสารปนเปื้อนในกัญชา (cannabis contaminants) 5 ชนิด ดังนี้
สารปนเปื้อนชนิดที่ 1: เชื้อรา (Contaminant #1: Mold)
ดังที่เคยกล่าวถึงในบทความก่อนหน้านี้ว่ากัญชาไม่ควรชื้น เปียก มีคราบน้ำมันเป็นมันหรือเหนียวเหนอะหนะ หากกัญชาดูมีความชื้นหรือนุ่ม นั่นหมายถึงพืชกัญชากำลังอุ้มน้ำซึ่งถือเป็นปัญหาเพราะเชื้อรา (mold) เจริญเติบโตได้ในสภาพที่เปียกชื้น
หากคุณเคยเห็นราสีเทา (grey mold) ที่ขึ้นบนผลสตรอว์เบอร์รีเก่า คุณคุ้นเคยกับเชื้อรา Botrytis cinereal ที่ก่อให้เกิดโรคราสีเทาในพืชแล้ว ซึ่งเป็นเชื้อราที่เป็นสาเหตุของ “bud rot” กัญชาเน่าหรือตาดอกเน่า เชื้อราBotrytis ไม่เป็นพิษแต่ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทางเดินหายใจที่เรียกว่าโรคปอดอักเสบจากภูมิไวเกิน (Hypersensitivity pneumonitis) หรือ “winegrower’s lung” ที่ถุงลมปอดจะเกิดการอักเสบ ซึ่งโรคปอดอักเสบจากภูมิไวเกิน (Hypersensitivity pneumonitis) อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้แม้ว่าจะค่อนข้างหายาก โดยมีอาการทั่วไป ได้แก่อาการไอ มีไข้ และหายใจถี่
สารปนเปื้อนชนิดที่ 2: โลหะหนักในดิน (Contaminant #2: Heavy Metals in the Soil)
โลหะหนัก (Heavy metal) คือธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นโลหะที่มีความหนาแน่นสูงหรือมีน้ำหนักอะตอม นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงเรียกว่า “โลหะหนัก” ซึ่งสารโลหะในหมวดหมู่นี้ ได้แก่ แคดเมียม สารหนู ตะกั่ว ปรอทและยูเรเนียม กลุ่มสารโลหะหนักที่มีอยู่ในดินในระดับที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่อยู่
รากกัญชาสามารถดูดซึมและเก็บสารโลหะที่เป็นอันตรายเหล่านี้รวมไปถึงสารเคมีปนเปื้อนอื่นๆ ซึ่งในการศึกษาหนึ่งในปี 2002 ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Industrial Crops and Products ซึ่งเป็นวารสารวิชาการระดับนานาชาติระบุวา “ กัญชง หรือ Hemp (พืชในวงศ์ Cannabis sativa L.) ถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบความสามารถของมันในฐานะทรัพยากรหมุนเวียนเพื่อกำจัดดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก” การศึกษาวิจัยพบว่า "ความเข้มข้นสูงสุดของสารโลหะที่ตรวจสอบทั้งหมดถูกสะสมอยู่ในใบ" แต่ก็มีอยู่ในเมล็ดและเส้นใยด้วย
สารปนเปื้อนชนิดที่ 3: เชื้อก่อโรคในกัญชา (Contaminant #3: Cannabis Pathogens)
เชื้อก่อโรค หรือจุลชีพก่อโรค (Pathogens) คือพวกเชื้อโรคอย่าง ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราและจุลินทรีย์อื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ ยกตัวอย่างเช่น ไรโนไวรัส (rhinoviruses) และไวรัสโคโรนา coronaviruses ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไข้หวัด
ตามรายงานของสถาบันความปลอดภัยกัญชา (the cannabis Safety Institute) องค์กรที่ดำเนินการโดย “นักวิทยาศาสตร์ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบต่างมุ่งมั่นที่จะให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดและความเชี่ยวชาญที่จำเป็นเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของอุตสาหกรรมกัญชาที่ถูกกฎหมาย”:
“พืชกัญชาที่มีชีวิตในสภาพธรรมชาติไม่สนับสนุนการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในระดับสูงและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับพืชกัญชาที่มีชีวิตในสภาพธรรมชาติ”
อย่างไรก็ตามตามรายงานเดียวกันนี้ยังชี้ให้เห็นว่า “แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคซึ่งมีความต้านทานต่อการอบแห้งอย่างมากอาจมีชีวิตอาศัยอยู่ในกัญชาและถูกถ่ายโอนไปยังมนุษย์หรือสิ่งของอื่น และจากนั้นก็ส่งต่อมนุษย์”
ตามรายงานพบว่ามีแบคทีเรียทั่วไปเพียงหนึ่งตัวที่ตรงตามคำอธิบายนี้ แต่เป็นแบคทีเรียที่อันตรายอย่างแบคทีเรีย ซัลโมเนลลา (Salmonella) การติดเชื้อโดยการสูดดมเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) อาจทำให้เกิดไข้และอาการเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงที่อาการสามารถบรรเทาและกำเริบได้อีกอย่างต่อเนื่อง การวินิจฉัยอาจเป็นเรื่องยากมากและการรักษาเป็นเวลานาน
การติดเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลา (Salmonella) นั้นเชื่อมโยงกับกัญชาเป็นครั้งแรกในปี 1982 (พ.ศ. 2525) เมื่อสื่อ New York Times ได้ตีพิมพ์บทความที่ระบุว่า “ไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูบบุหรี่กัญชาได้รับเชื้อแบคทีเรียนี้เท่านั้นแต่ยังรวมถึงเด็กและคนอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่กับพวกเขาด้วย เมื่อทีมนักวิจัยทำการทดสอบกัญชาและพวกเขาพบว่ากัญชาถูกปนเปื้อนด้วยมูลสัตว์จากปุ๋ยคอก (manure) ซึ่งอาจนำมาใช้เพื่อเจือปนกัญชาได้”
เชื้อก่อโรคอื่นๆ ในกัญชาที่น่ากังวล ได้แก่
แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus)
แอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) เป็นชนิดของเชื้อราที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมทั้งในร่มและกลางแจ้ง การได้รับเชื้อแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) จะทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดอย่างรุนแรง การติดเชื้อที่อวัยวะอื่นๆ และ / หรือมีปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) สามารถเจริญเติบโตได้ในพืชหลายชนิดรวมถึงกัญชา จากการศึกษาในปี 2011 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร the Mediterranean Journal of Hematology and Infectious Diseases ระบุว่า “มีเคสจำนวนน้อยของรูปแบบต่างๆ ของเชื้อรา Aspergillosis” - การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อรา Aspergillus - “เกี่ยวข้องกับการสูบกัญชา”
E. coli (Escherichia coli) หรืออีโคไล
E. Coli - Escherichia coli หรือที่รู้จักกันดีในชื่ออีโคไล (E. Coli) เป็นกลุ่มของแบคทีเรียที่บางชนิดสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว แบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในมูลและปนเปื้อนสิ่งต่างๆ ที่สัมผัสกับมูล – ตัวอย่างเช่น มือของคนงานหรือปุ๋ยคอก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วแบคทีเรีย E. Coli จะเกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนของอาหารและน้ำ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of New Haven ได้ยืนยันในปี 2013 ว่าพืชกัญชาสามารถปนเปื้อนกับเชื้อแบคทีเรีย E. Coli ได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรีย E. coli ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายประเภทและส่วนใหญ่ มักเกี่ยวข้องกับโรคท้องร่วง นอกจากนี้การติดเชื้อแบคทีเรีย E.coli ที่ปอดก่อให้เกิดอันตรายได้
ไรแดงหรือไรแมงมุม (Spider Mites)
ไรแดง หรือไรแมงมุม (Spider Mites) จริงๆ แล้วไม่ใช่แมลงแต่เป็นสัตว์ในพวก Arachnida อย่างพวกแมงป่อง แมงมุม เห็บ ศัตรูพืชอย่างไรแดงที่มีขนาดเล็กน้อยกว่าหนึ่งมิลลิเมตรเหล่านี้รวมตัวกันที่ด้านล่างใต้ใบกัญชาและทำให้เกิดจุดสีขาวหรือเหลือง ทำให้กัญชาถูกรบกวนและสร้างใยคลุมรอบๆ ใบดอก ไรเหล่านี้ทิ้งของเสียและลอกคราบที่ถูกกำจัดไปทั่วพืชกัญชาที่ถูกรบกวนซึ่งอาจนำไปสู่ปฏิกิริยาการแพ้ในผู้ใช้กัญชา
สารปนเปื้อนชนิดที่ 4: สารกำจัดศัตรูพืช หรือสารกำจัดแมลงในกัญชา (Contaminant #4: Pesticides on Marijuana)
สารกำจัดศัตรูพืช หรือสารกำจัดแมลง (Pesticides) ทำให้การเกษตรเชิงพาณิชย์เป็นไปได้ แต่เช่นเดียวกับเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่สารเหล่านี้เป็นดาบสองคม คือให้ทั้งผลดีและผลร้าย ซึ่งในเดือนตุลาคมของปีที่ผ่านมาทางรัฐโอเรกอนได้เรียกคืนกัญชาสองชุด (“ Dr. Jack” หมายเลขชุด G6J0051-02 และ “Marionberry” หมายเลขชุด G6J0051-01) หลังจากการทดสอบเผยให้เห็นว่ามี “สารกำจัดศัตรูพืชที่รู้จักกันในชื่อสปินโนแซด (Spinosad) ตกค้างสูงในกัญชา”
สปินโนแซด (Spinosad) เป็นยาฆ่าแมลงที่บางครั้งเรียกว่า "ธรรมชาติ" เพราะสารออกฤทธิ์ spinosyn A และ spinosyn D ผลิตโดยจุลินทรีย์จากดิน (Saccharopolyspora spinosa) แทนที่จะถูกสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม“ ธรรมชาติ” ก็ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัยเสมอ
แม้จะมีข้อเท็จจริงว่าระดับของสารฆ่าแมลง Spinosad ในกัญชาที่ปนเปื้อนอยู่ที่ 42 ส่วนต่อล้าน ซึ่งจริงๆ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่อนุญาตโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมหรือ EPA (กำหนดไว้สูงสุด 85 ส่วนต่อล้าน) แต่ทว่าหน่วยงานด้านสุขภาพแห่งรัฐโอเรกอน (OHA) ไม่ต้องการรับความเสี่ยงใดๆ
ทั้งนี้จากการแถลงข่าวของหน่วยงานด้านสุขภาพแห่งรัฐโอเรกอน (OHA) “สารสปินโนแซด (Spinosad) มีความเป็นพิษต่ำต่อผู้คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ แต่มันสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและรอยแดงได้หากสัมผัสกับผิวหนังหรือในดวงตาของคุณ และยังไม่ทราบผลที่เกิดขึ้นของการสูบผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนด้วย สารสปินโนแซด (Spinosad) ”
เนื่องจากกัญชายังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลาง ทางสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม หรือ EPA จึงไม่อนุมัติสารกำจัดศัตรูพืชหรือสารกำจัดแมลงใดๆ (pesticides) สำหรับใช้กับกัญชา อันเป็นผลให้ไม่มีกฎระเบียบควบคุมของรัฐบาลกลางในการกำหนดประเภทหรือระดับที่ยอมรับได้ของสารกำจัดศัตรูพืชสำหรับการเพาะปลูกกัญชา แต่กฎเหล่านี้จะถูกทิ้งไว้ที่รัฐแทน - ซึ่งอาจหรืออาจจะไม่เฝ้าดูผู้ปลูกกัญชาอย่างใกล้ชิด
นั่นหมายถึงกระทรวงสาธารณสุข (Department of Public Health-DPH) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งอ้างว่าทำงานเพื่อกระชับกฎระเบียบปัจจุบัน โดยกลยุทธ์การกำจัดศัตรูพืชต่อไปนี้ถูกตัดตอนมาจากเอกสารของกระทรวงสาธารณสุข (DPH) เดือนกุมภาพันธ์ 2016:
“ในปีหน้าจะมีการปรับปรุงวิธีการทดสอบและวิเคราะห์สารกำจัดศัตรูพืช / สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชทางกระทรวงสาธารณสุข (DPH) กำลังทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่น ระดับรัฐและระดับประเทศเพื่อปรับปรุงวิธีการนี้ ซึ่งกลยุทธ์ปัจจุบัน คือการพัฒนารายการสารกำจัดศัตรูพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชซึ่งถูกนำไปประยุกต์ใช้กับพืชหรือผลิตภัณฑ์กัญชาที่เสร็จแล้วโดยเฉพาะ”
สารปนเปื้อนชนิดที่ 5: สารที่ถูกควบคุม (Contaminant #5: Controlled Substances)
เมื่อคุณได้ยินเกี่ยวกับบุหรี่ยัดไส้กัญชา หรือที่เรียกว่า joint ที่ "เจือ/ผสม" (laced) กับสารอื่นๆ สัญชาตญาณแรกของคุณน่าจะทำให้คุณกลอกตาไปรอบๆ แสดงความเบื่อ ไม่สนใจ ใช่คำนั้นล้าสมัยไปแล้ว ใช่มันมีความหมายเชิงลบอย่างมาก และไม่ใช่ มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการผสมสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่คนขี้เล่นแกล้งผสมรายการอาหารด้วยกัญชา ซึ่งก็ไม่ใช่คนโรคจิตที่ผสมกัญชาด้วยยาพิษหรือยาเสพติด
กระนั้นที่กล่าวกันว่า ผู้ค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายที่ผิดกฎหมายบางครั้งโปรยกัญชาด้วยสารเฟนไซคลิดีน (phencyclidine) ซึ่งจัดเป็นยาที่มีความเสี่ยงต่อการเสพติดสูง (Schedule II drug) ที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ PCP หรือ
ชื่อทางการค้า “angel dust” ในทำนองเดียวกันกัญชายังผสมกับยาแก้ปวดกลุ่ม Opiates ที่เป็นผลิตผลที่มาจากฝิ่น ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกง่วงนอน (drowsiness) และภาวะเคลิ้มสุข (euphoria) ขึ้นได้
ผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่ายอาจทำเช่นนี้เพื่อหลอกผู้ซื้อให้คิดว่าพวกเขากำลังจะได้รับกัญชาที่มีคุณภาพสูงหรือเพื่อสร้างการพึ่งพาในกลุ่มผู้ซื้อของพวกเขาที่ด้วยตัวกัญชาเองจะไม่เป็นเช่นนั้น
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการสัมผัสกับสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ผู้ใช้กัญชาควรซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านขายยากัญชา (dispensary) ที่ดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อร้านขายยากัญชาจดทะเบียน (Registered Marijuana Dispensaries -RMDs)
การปลูกกัญชาเองที่บ้านหรือซื้อกัญชาจากผู้ขายที่ผิดกฎหมายยิ่งเพิ่มโอกาสในการสูดดม หรือกลืนเชื้อรา (mold) เชื้อก่อโรค (pathogens) หรือสารปนเปื้อน (contaminants) อื่นๆ ที่อาจทำให้คุณเจ็บป่วยได้
โปรดจำไว้ว่าแม้ว่าพืชกัญชาจะดูไม่เป็นไร คุณจะไม่สามารถเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระดับจุลภาคได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้กัญชาสามารถซื้อกัญชาจากร้านขายยาเฉพาะในกรณีที่มีสิทธิ์ มีคุณสมบัติได้รับกัญชาทางการแพทย์และได้ลงทะเบียนสำหรับบัตรกัญชาทางการแพทย์แมสซาชูเซตส์ หากบัตรหมดอายุแล้ว ผู้ใช้กัญชาจะต้องต่ออายุบัตรกัญชาทางการแพทย์เพื่อใช้งานต่อไป
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
Dr. Jordan Tishler, M.D. เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชาและเป็นอาจารย์ที่ Harvard Medical School เขายังเป็นประธานของสมาคมกัญชาผู้เชี่ยวชาญและดำรงตำแหน่ง CEO ของ InhaleMD - สถาบันเอกชนด้านการแพทย์กัญชา โดยเขาใช้เวลาหลายปีในการช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยกัญชา
อ้างอิง:
The Fresh Toast / Feb.21, 2020
By: Dr. Jordan Tishler
https://thefreshtoast.com/cannabis/what-happens-when-medical-marijuana-get-contaminated/#utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=what-happens-when-medical-marijuana-get-contaminated?utm_medium=Feed&utm_source=Syndication